วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication


การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ


องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน

2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้

5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน

6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น


ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน
1.หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
2.ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
3.หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)


วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
1.เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2.เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3.เพื่อลดเวลาการทำงาน
4.เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5.เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6.เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก

2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้

3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที

4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศั

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปัญหา...ปวดหัว

ปัญหาทางระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สร้างความทรมานอย่างยิ่งให้กับผู้ที่ต้องเผชิญคือ อาการปวดหัว โดยมากมักเป็น ๆ หาย ๆบ้างก็ทราบสาเหตุ บ้างก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร แต่เมื่อเป็นแล้วนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ อีกด้วยปวดศีรษะ (Headaches)ปัญหาของอาการปวดศีรษะมักเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งจากโรคของสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การอักเสบของเส้นประสาท และปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอก เช่น ความดันโลหิตสูง รับประทานยาบางชนิด เป็นไข้ กระดูกคอเสื่อม ความเครียด ไมเกรน สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ อาจแยกจากกันไม่ได้ชัดเจน ต้องอาศัยการตรวจพิเศษและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อาการสำคัญที่ควรพบแพทย์ด่วน 1.อาการปวดศีรษะเฉียบพลัน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ2.มีอาการอาเจียน เป็นไข้ คอแข็ง แขนขาชาและอ่อนแรง ตามองไม่เห็น เป็นอาการร่วมกับการปวดศีรษะ หรือเป็นอาการนำ3.เสียการทรงตัว หมดสติ สับสนจำอะไรไม่ได้4.ผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวดเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน แต่อาการไม่ทุเลาหรือมีอาการมากขึ้นปวดศีรษะไมเกรนไมเกรนและความเครียด เป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ 85-90% ของประชากรทั่วไป ปวดศีรษะไมเกรนมีอาการดังต่อไปนี้- ปวดเป็นพักๆ จะเป็นๆ หายๆ ข้างใดข้างหนึ่ง ปวดตุบๆ เหมือนชีพจรกำลังเต้น บางรายปวดมากจนทำงานไม่ได้- อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร- อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน- เห็นแสงสว่าง แสงสี ตาพร่ามัว ก่อนหรือระหว่างการปวดศีรษะ- ระยะเวลาในการปวดนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งมักพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอาการปวดศีรษะมักจะเริ่มช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุมากขึ้น บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอาจจะมีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเรียกว่า “Classic Migrain” แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียกว่า “Common Migrain”ถึงแม้ว่าไมเกรนเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่หากเข้าใจโรคและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก็สามารถทำให้ควบคุมโรคได้
สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรนปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากการหลั่งสารเคมีรอบๆ เส้นเลือดสมอง ทำให้มีการปวดเกิดขึ้นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน1.การนอนหลับมาก หรือน้อยเกินไป หรือนอนไม่เป็นเวลา2.รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารนานๆ น้ำตาลในเลือดต่ำ3.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรสและสารกันบูด เนยแข็ง ช็อกโกแลต4.สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง อากาศร้อน รวมทั้งกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นเหม็น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย5.การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ6.ฮอร์โมนเพศสูง ช่วงมีประจำเดือน และการตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรก ๆการวินิจฉัยแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายทางระบบประสาท โดยถามถึงลักษณะอาการปวด ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรงของอาการปวด อาการเตือนก่อนปวด และอาการร่วม รวมถึงระยะเวลาที่ปวดแต่ละครั้ง ความถี่ของการปวด เป็นต้น สำหรับการปวดศีรษะจากโรคอื่น ๆ อาจมีลักษณะคล้ายกัน บางครั้งจึงมีความจำเป็นต้องตรวจพิเศษ เพื่อจำแนกโรคให้ชัดเจนการรักษาไมเกรน1.ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างใกล้ชิด นอนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา2.หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ท่านสามารถสังเกตได้ เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม3.การรักษาเพื่อขจัดความปวดโดยการใช้ยา ซึ่งมีทั้งยาแก้ปวดไมเกรน และยาป้องกันไมเกรน ซึ่งการจะใช้ยาชนิดใด ควรได้รับการแนะนำหรือปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ที่มา : รพ.เวชธานี
http://variety.teenee.com/foodforbrain/15036.html